NAFTA
NAFTAย่อมาจากNorth
America Free Trade Areasเป็นข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
ประกอบด้วยประเทศสมาชิก3ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา
และเม็กซิโกมีพื้นฐานมาจากเขตการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา–แคนาดาที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่1มกราคม2532และความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างอเมริกาและเม็กซิโกที่เริ่มตั้งแต่ปี2530โดยผู้นำทั้งสามชาติได้ร่วมลงนามรับรองการค้าเสรี เมื่อวันที่17ธันวาคม2535และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคม2537ต่อมาในเดือนธันวาคม2537ชิลีได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกNAFTA
ประวัติการก่อตั้ง
หลังจากที่สหภาพยุโรป
ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว
ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ.2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว
และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
1.เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น
2.เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกและมีคุณภาพดี
3.เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูง
1.เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น
2.เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกและมีคุณภาพดี
3.เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูง
ผลการปฏิบัติงาน
ประเทศสมาชิกต่างได้รับผลประโยชน์จากการทำข้อตกลงทางการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
คือ เม็กซิโก ซึ่งก่อนหน้านี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซตกต่ำมากก็เริ่มแข็งตัวขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซากลับฟื้นและดีขึ้นโดยลำดับ
ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาปล่อยสินเชื่อระยะยาว ลดอัตราภาษีนำเข้า
และอนุญาตให้รถบรรทุกของเม็กซิโกแล่นผ่านเข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้
โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่ชายแดน อันเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลา
สหรัฐอเมริกา มีสินค้าส่งออกไปเม็กซิโกและแคนาดามากขึ้น
ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น และทำให้มีตำแหน่งงานเพิ่ม
มีการจ้างงานมากขึ้น แคนาดาสามารถซื้อสินค้าของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกถูกลง
อันเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีศุลกากร
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
ไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของนาฟตา
แต่การดำเนินการงานของนาฟตามีผลกระทบโดยตรงต่อการค้าของไทย คือ
การออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนาฟตา ทำให้มีการกระทบต่อสินค้าไทย เช่น
ประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ได้ออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้ารถยนต์
และผ้าผืนที่ทอจากโรงงานและไม่ได้ตัดเย็บจะส่งเข้าไปยังแคนาดาและเม็กซิโก
เป็นการจำกัดและกีดกันสินค้าที่สั่งเข้าจากประเทศไทย ประการหนึ่ง
และทำให้ไทยขายสินค้าได้น้อยลง ประเทศเม็กซิโก ขึ้นอัตราภาษีศุลกากร เครื่องหนัง
และรองเท้าที่สั่งเข้าจากประเทศนอกกลุ่มนาฟตา ทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นไปด้วย
จึงส่งออกได้น้อยลง
นอกจากนี้
เม็กซิโกซึ่งเป็นสมาชิกของนาฟตา
มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไทย มีแรงงานราคาถูก
มีวัตถุดิบและผลิตสินค้าได้คล้ายคลึงกับประเทศไทย
จึงคาดกันว่าหากเม็กซิโกได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าอื่นๆ จากสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศภาคีสมาชิก
เม็กซิโกจะมีบทบาทในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกาแทนที่ประเทศไทย
ประกอบกับเม็กซิโกอยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา ทำให้การขนส่งสินค้าทำได้รวดเร็ว
และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า สิ่งทอ
เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารกระป๋องและชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
ซึ่งไทยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาปีละมากๆ
ผลของข้อตกลงนาฟตาต่อไทย
• แม้นาฟตาจะมีภาคีสมาชิกเพียงสามประเทศ
แต่เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการค้าโลก
รายได้ประชาชาติของทั้งสามประเทศรวมกันมากกว่า 7
ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีประชากรถึง 370 ล้านคน
มูลค่าการค้ารวมกันประมาณ 1,700 พันล้านเหรียญสหรัฐ
• ระยะสั้น ผลกระทบค่อนข้างมีจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากเม็กซิโกยังมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฝีมือแรงงานและความพร้อม
• ระยะยาว คาดว่านาฟตาจะส่งผลกระทบต่อไทย โดยเม็กซิโกอาจมีความได้เปรียบสำหรับสินค้าที่มีการแข่งขันกัน เช่น สิ่งทอ อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง ผักและผลไม้
• การขยายตัวของการลงทุนของต่างชาติในเม็กซิโก อาจส่งผลให้การลงทุนต่างประเทศในไทยลดลง นอกจากนี้การขยายตัวการลงทุน ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าของเม็กซิโกด้วย
• ระยะสั้น ผลกระทบค่อนข้างมีจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากเม็กซิโกยังมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฝีมือแรงงานและความพร้อม
• ระยะยาว คาดว่านาฟตาจะส่งผลกระทบต่อไทย โดยเม็กซิโกอาจมีความได้เปรียบสำหรับสินค้าที่มีการแข่งขันกัน เช่น สิ่งทอ อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง ผักและผลไม้
• การขยายตัวของการลงทุนของต่างชาติในเม็กซิโก อาจส่งผลให้การลงทุนต่างประเทศในไทยลดลง นอกจากนี้การขยายตัวการลงทุน ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าของเม็กซิโกด้วย
แหล่งข้อมูล
http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Org-Inter/NAFTA.htm
http://learners.in.th/blog/nafta/195530